วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

ไบออส(Bios)


Bios (ไบออส) นั้นมีความสำคัญกับระบบคอมพิวเตอร์อย่างมาก เรียกได้ว่าไม่มีไม่ได้ เพราะเมื่อเรากดปุ่มเปิดเครื่อง ระบบก็จะเริ่มต้นที่ Bios (ไบออส) นี้แหละครับ โดยโครงสร้างหลักๆ ของเจ้า BIOS (ไบออส) นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่สองอย่างคือ…
ตัวโปรแกรมของไบออส จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำแบบ ROM เพราะจำได้นานไม่มีลืมเหมือนกับ RAM ทำให้เราสามารถเรียกใช้เจ้า BIOS ได้ทันทีเมื่อเปิดเครื่อง แต่เราไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปใน ROM ได้
ส่วนตัวข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ CMOS RAM เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเชขียนไฟล์ทับได้ คล้ายกับ RAM แต่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ถ้าไม่มีไฟ ระบบจะลืมช้อมูลทันที โดยไฟที่ว่านี้มาจากก้อนแบตเตอรี่เล็กติดอยู่บนเมนบอร์ด ถ้าแบตเตอรี่นี้หมด เครื่องก็จะมีปัญหา
ในโปรแกรม BIOS มีหน้าจอให้เรากำหนดค่าต่างๆ เพื่อใช้กำหนดค่าเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์เรา เช่นให้บูตระบบจากซีดีรอมก่อนหรือจากฮาร์ดดิสก่อน กำหนดวันเวลา เป็นต้น นอกจากหน้าที่แม่บ้านแล้ว BIOS ยังมีหน้าที่อื่นๆ ที่มีความสำคัญอีกเช่น กำหนดการทำงานของซีพียู เป็นตัวเชื่อมและสนับสนุนการทำงานพื้นฐานของซอฟท์แวร์ที่เราติดตั้ง

ที่มา : http://www.computers.co.th/blog/?p=30

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

การบูตเครื่องคอมพิวเตอร์


........การทำงานของคอมพิวเตอร์ (Boot Up) ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องนำเอาระบบปฏิบัติการเข้าไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน กระบวนการนี้เรียกว่า การบู๊ตเครื่อง (boot) นั่นเอง ซึ่งจะเริ่มทำงานทันทีตั้งแต่เปิดสวิทซ์เครื่อง มีขั้นตอนที่พอสรุปได้ดังนี้ คือ

ขั้นตอนการบู๊ตเครื่องในคอมพิวเตอร์
1. พาวเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูเริ่มทำงาน ในคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า พาวเวอร์ซัพพลาย (power supply) ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นทำงานทันทีเมื่อเรากดปุ่มเปิด (Power ON) และเมื่อเริ่มทำงานก็จะมีสัญญาณส่งไปบอกซีพียูด้วย (เรียกว่าสัญญาณ Power Good)
2. ซีพียูจะสั่งให้ไบออสทำงาน ทันทีที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายมายังคอมพิวเตอร์และมีสัญญาณให้เริ่มทำงาน หน่วยประมวลกลางหรือซีพียูจะพยายามเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในไบออสเพื่อทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้โดยทันที
3. เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆกระบวนการ POST (power on self test) เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งในไบออสซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด , RAM , ซีพียู รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์ ซึ่งเราสามารถสังเกตผลการตรวจสอบนี้ได้ทั้งจากข้อความที่ปรากฏบนจอภาพในระหว่างบู๊ต และจากเสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ส่งออกมา (ซึ่งเป็นประโยชน์ในการที่แสดงผลทางจอภาพไม่ขึ้น) โดยปกติถ้าการตรวจสอบเรียบร้อยและไม่มีปัญหาใด ๆ ก็จะส่งสัญญาณปี๊บสั้น ๆ 1 ครั้ง แต่หากมีอาการผิดปกติจะส่งสัญญาณที่มีรหัสเสียงสั้นและยาวต่างกันแล้วแต่ข้อผิดพลาด (error) ที่พบ เช่น ถ้าเป็นข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการ์ดแสดงผลจะส่งสัญญาณเป็นเสียงยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง ทั้งนี้ไบออสแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะมีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน
4. ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ในซีมอส ข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่า configuration จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS – complementary metal oxide semiconductor) ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยในการหล่อเลี้ยง โดยใช้แบตเตอรี่ตัวเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องสามารถจำค่าต่าง ๆ ไว้ได้ ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST นี้ จะถูกนำมาตรวจสอบกับข้อมูลซีมอส ถ้าถูกต้องตรงกันก็ทำงานต่อได้ ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้ให้แก้ไขข้อมูลก่อน
5. ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากฟล็อปปี้ดิสก์ ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ ขั้นถัดไปไบออสจะเข้าไปอ่านโปรแกรมสำหรับการบู๊ตระบบปฏิบัติการจากเซกเตอร์แรกของฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หรือซีดีรอม โดยที่ไบออสจะมีความสามารถในการติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้
6. โปรแกรมส่วนสำคัญจะถูกถ่ายค่าลงหน่วยความจำ RAM เมื่อไบออสรู้จักระบบไฟล์ของไดรว์ที่บู๊ตได้แล้วก็จะไปอ่านโปรแกรมส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าเคอร์เนล (kernel) เข้ามาเก็บในหน่วยความจำหลักหรือ RAM ของคอมพิวเตอร์เสียก่อน
7. ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผลลัพธ์ เคอร์เนลที่ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำนั้นจะเข้าไปควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า configuration ต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อไป ซึ่งปัจจุบันในระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ จะมีส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟิกหรือ GUI เพื่อสนับสนุนให้การใช้งานกับคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีก ประเภทของการบู๊ตเครื่องดังที่อธิบายแล้วว่าการบู๊ตเครื่อง คือ ขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำRAMซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น2ลักษณะด้วยกันคือ
โคลด์บู๊ต (Cold boot) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (Power On) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
วอร์มบู๊ต (Warm boot) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง (restart) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
- กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
- กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้
- สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ

http://school.yala1.go.th/taladlammai/tec_com6.php

คีย์บอร์ดพลังงานแสงอาทิตย์


...........ถือว่าช่วยกันคนละไม้ละมือแล้วนะครับ…กับการแก้ปัญหาโลกร้อนที่เราคนรักไอทีซึ่งเป็นตัวจักรหนึ่งที่ทำให้โลกร้อน จากการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากกว่าใครๆ…ถ้าเราจะช่วยอะไรได้ก็ควรจะช่วยกันครับ ยกตัวอย่างเช่น ในข่าวนี้ที่คนญี่ปุ่นเขาได้ทำคีย์บอร์ดที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ออกมาจำหน่ายโดยมันเป็นคีย์บอร์ดไร้สายที่ตามปกติแล้วจะใช้แบตเตอร์รี่ AA จำนวน 2 ก้อน แต่เขาพัฒนาให้มันมาใช้แสงอาทิตย์แทนเพื่อจะได้ช่วยลดการใช้แบตเตอร์รี่ที่กำจัดได้ยุ่งยากและยังเป็นปัญหาขยะมีพิษอีกด้วยครับ
........คีย์บอร์ดรุ่นนี้ใช้เคลื่อนความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งสัญญาณระหว่างตัวมันเองกับภาครับสัญญาณ มีระยะทำงานในช่วง 10 เมตร ซึ่งก้ถือว่าไกลมากที่เดียวครับ.

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

ระบบปฏิบัติการ Linux

รู้จักกับลีนุกซ์ลีนุกซ์
เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรมระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
ประวัติของลีนุกซ์
วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1991 นักศึกษาชาวฟินแลนด์ Linus Benedict Torvald กำลังศึกษาอยู่ที่ University of Helsinki ได้เขียนข้อความโพสต์ขึ้นไปยังยูสเน็ต comp.os.minix ว่าเขาได้สร้างระบบปฏิบัติการขนาดเล็กที่เหมือนกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ขึ้น ชื่อว่า Linux โดยเป็นการพัฒนาต่อมาจากระบบปฏิบัติการ Minix ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Andy Tanenbaumอันที่จริง Linux ตัวแรกได้มีการเผยแพร่เฉพาะ source code ไปก่อนหน้านี้ และถือว่าเป็นเวอร์ชั่น 0.01 โดย Linus ได้เปิดให้ดาวน์โหลดได้จาก ftp://nic.funet.fiLinux ที่เผยแพร่ในครั้งนี้มีเวอร์ชั่น 0.02 ซึ่งผ่านการคอมไพล์แล้ว และสามารถรันเชลล์ bash ( GNU Bourne Again Shell ) และ gcc ( GNU C Compiler ) ได้ รวมทั้งมีความสามารถอื่น ๆ อีกเล็กน้อย ตั้งแต่นั้นมาสิ่งนี้ก็เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับบรรดาผู้ที่มีงานอดิเรกเกี่ยวกับ kernel และ แฮกเกอร์Linux เริ่มต้นที่เวอร์ชั่น 0.02 พัฒนาขึ้นเป็น 0.03 และกระโดดเป็น 0.10 ด้วยการพัฒนาจากโปรแกรมเมอร์จำนวนมากมายทั่วโลก จนถึงเวอร์ชั่น 0.95 จนกระทั้งออกเป็นเวอร์ชั่น 1.0 อย่างเป็นทางการ ( Official release ) ในเดือนมีนาคม 1992 จากนั้นก็พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ( วันที่เขียน ) เคอร์เนล ของ Linux มีเวอร์ชั่นล่าสุดเป็น 2.2.3ณ วันนี้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภท Unix-liked ที่สมบูรณ์ และได้รับความสนใจอย่างสูง ใครเลยจะรู้ว่า โปรเจคของนักศึกษาที่ Torvald สร้างขึ้น จะก้าวขึ้นสู่ระดับ mainstream operating system และเป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ เช่นทุกวันนี้Linux ได้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ภายใต้ข้อกำหนดของ Free Software ซึ่งมีหน่วยงานที่ควบคุมเงื่อนไข อย่างเช่น GNU จึงทำให้มีข้อแตกต่าง จากระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายเชิงธุรกิจ และมีราคาแพง Linux มีการแปลงโปรแกรมไปสู่แพลตฟอร์มอื่น ๆ นอกจาก i386 ได้แก่ Sparc ,Alpha และ Macintosh ทำให้โปรแกรมเมอร์ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจที่จะพัฒนาโปรแกรมขึ้นสนับสนุน Linux มาขึ้น ส่งผลให้ Linux มีซอฟต์แวร์สนับสนุนเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีราคาถูก หรือฟรี และเปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับ ( Open Source Code ) ตามเงื่อนไขของ GPL ( General Public License )จากการคาดการของ IDC ( International Data Corporation of Framingham, Messachusette ) แจ้งไว้ว่าการเติบโตของ Linux จะมีส่วนแบ่งตลาด คิดเป็นร้อยละ 17.2 ในปี ค.ศ. 1998ในช่วง 4 - 5 ปี ที่ผ่านมา มีบริษัทซอฟต์แวร์หลายแห่งได้นำเคอร์เนลของ Linux มารวมเข้ากับซอฟต์แวร์ทั้งแบบฟรี และจำหน่ายเชิงการค้า เกิดเป็น Linux Distribution ต่าง ๆ ขึ้น เป็นจำนวนมากมาย เช่น Redhat ,TurboLinux ,SUSE ,Slackware ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตเหล่านี้ ช่วยให้การติดตั้ง ใช้งาน สะดวกมากยิ่งขึ้น ในราคาที่คุ้มค่ากว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆในปัจจุบัน ( ค.ศ. 2001 ) มีการนำ Linux มาใช้งานในกิจการต่าง ๆ มากขึ้น โดยที่เน้นไปที่งานด้านระบบเซิร์ฟเวอร์ และเครือข่ายเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการประยุกต์ใช้งาน Linux เพื่อใช้งานเป็น เครื่องลูกข่าย หรือใช้งานด้านเดสทอปนั้นยังคงเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้น แต่ก็มีแนวโน้มที่ชัดเจนที่จะพัฒนา Linux เพื่องานเดสทอปมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น Linux TLE 4.0 ของไทย หรือ Redmond Linux ของทางต่างประเทศ ก็ได้พัฒนา Linux เพื่อใช้งานด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ลีนุกซ์จะเข้ามามีบทบาทในระดับผู้ใช้ทั่วไป และสามารถทดแทนวินโดวส์ได้ในที่สุด

ระบบปฏิบัติการ Unix

Unix คืออะไรยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่ง ที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system)ซี่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติด กับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานใน ลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคน ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆงานใน เวลาเดียว กันในลักษณะที่เรียกว่ามัลติทาสกิ้ง (multitasking) ยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการถูกพัฒนาขึ้นในปี1969 โดยบริษัทAT&Tเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยแรกเริ่มจะกใช้ในงานวิจัยต่อมาไดถูกใช้ทางธุรกิจ ยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาซีมีคุณสมบัติที่เด่นกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆคือการไม่ยึดติดกับฮาร์ดแวร์ ดังนั้นจึงสามารถยูนิกส์ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทยูนิกส์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานได้หลายงานพร้อมกันและทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกันและเป็นระบบปฏิบัติการที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมที่ช่วยให้อำนวยความสะดวก โครงสร้างระบบไฟล์ยังเหมือนกับระบบปฏิบัติการดอสแต่คำสั่งอาจแตกต่างกันไป ข้อด้อยของยูนิกส์ คือผู้ใช้ส่วนใหญ่จะต้องจดจำคำสั่งของยูนิกส์ซึ่งค่อนข้างยาก แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาไปเป็นโปรแกรมที่มีลักษณะเป็น GUI ช่วยให้การใช้งานยูนิกส์ง่ายมากขึ้นลักษณะอื่นๆของยูนิกส์ยูนิกส์มีโปรแกรมอื่นๆที่มาพร้อมกับตัวมันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ คอมไพเลอร์ภาษาต่างๆ เกมส์ และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีความสามารถทางด้านการสื่อสารข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั้งในระบบเดียวกันหรือต่างระบบกันทั้งไกลและใกล้โครงสร้างยูนิกส์ยูนิกส์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆได้ 2ส่วน คือ เซลล์(shell) และเคอร์แนล(kernel) เซลล์เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรงส่งพร้อมขึ้นที่หน้าจอ รอรับงานจากผู้ใช้ แปลความหมายงานนั้นและเรียบเรียงให้เคอร์แนลท์ทำงานให้ระบบไฟล์ไฟล์ในยูนิกส์แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ ไฟล์ธรรมดา ไฟล์พิเศษและไฟล์ไดเร็กทอรี่ ไฟล์ธรมมดาเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลทั่วไปยูนิกส์จะมองว่า1.ไฟล์ธรรมดา คือกลุ่มของข้อมูลหลายๆไบต์เรียงต่อกันไม่มีโครงสร้างของข้อมูลใดๆ เช่นไฟล์ข้อมูล ไฟล์โปรแกรม เป็นต้น การที่ยูนิกส์มองไฟล์เป็ยกลุ่มของไบต์ที่ไม่มีโครงสร้างข้อมูลนี้ สร้างความยืดหยุ่นในการทำงานของโปรแกรมต่างๆที่ต้องการเก็บข้อมูลไว้ในไฟล์ต้องการจัดเรื่องโครงสร้างข้อมูลเอาเองทั้งหมด โปรแกรมจึงมีอิสระในการจัดโครงสร้างข้อมูลไฟล์ได้อย่างเต็มที่2.ไฟล์พิเศษ คือ ไฟล์ที่สามารถอ้างอิงไปถึงอุปกรณ์ต่างๆในระบบเป็นไฟล์ เช่น เครื่องพิมพ์ 1 เคื่องเป็น 1ไฟล์ จอภาพ 1 จอภาพเป็น1ไฟล์ไฟล์เหล่านี้จะติดต่อกับตัวขับอุปกรณ์นั้นๆดังนั้นการที่จะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลผ่านทางไฟล์ของอุปกรณ์นั้นๆซึ่งจะเกิดผลดีในแง่ของการถ่ายเทข้อมูลชองโปรเซสต่างๆ3.ไฟล์ไดเร็กทอรี่ คือไฟล์ที่ยูนิกส์กำหนดโครงสร้างข้อมูลไว้ให้โดยมีโครงสร้างเป็นไดเร็กทอรี่ของระบบคือ ข้อมูล1ตัวจะประกอบด้วยชื่อไฟล์และหมายเลขไอโหนด ไดเร็กทอรี่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยไดเร็กทอรี่และไฟล์ที่เก็บรวมอยู่ในดิสก์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่ไม่ได้เป็นไดเร็กทอรี่เดียวกันของยูนิกส์ สามารถนำมาต่อเชื่อมโยงเข้ากับไดเร็กทอรี่ของระบบเป็นไดเร็กทอรี่ย่อยหนึ่งได้ โดยยูนิกส์มีคำสั่งพิเศษคือคำสั่ง mount เพื่อใช้เชื่อมโยงไดเร็กทอรี่อื่นเข้ากับของระบบและทำนองเดียวกัน unmount ก็เป็นคำสั่งตัดไดเร็กทอรี่ย่อยออกจากระบบ
แหล่งอ้างอิง

http://yalor.yru.ac.th/~pimonpun/4121401-OS/os9-2-2.htm